ทำบุญ ไหว้ขอพร เสาสะดือเมืองเชียงราย เสริมดวง เสริมสิริมงคลไปเที่ยวเยือน ภาคเหนือ กันที่ จังหวัดเชียงราย กันบ้างดีกว่า แต่เราจะพาไปยังสถานที่ที่เรียกได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของชาวเชียงรายก็เลยก็ว่าได้ค่ะ ซึ่งสถานที่ก็คือ เสาสะดือเมืองเชียงราย นั่นเองค่า ตามเรามาไหว้สักการะเสาสะดือเมืองแห่งนี้กันเลยดีกว่าค่า
ประวัติ เสาสะดือเมืองเชียงราย
เสาสะดือเมืองเชียงราย นี้สร้างขึ้นมาจากการที่ชาวเชียงราย ในปี พ.ศ. 2530 ไว้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระยาเม็งราย เนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองการสร้างเมืองเชียงราย ครบ 725 ปี และเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 นั่นเองค่ะ โดยเสาสะดือเมืองนี้ จะมีอยู่กว่า 108 หลักด้วยกัน ซึ่งจะในลักษณะของรูปแบบสมมุติจักรวาล เพราะมีความเชื่อมาตั้งแต่โบราณแล้วว่า ด้านหน้าที่หันไปทางทิศตะวันออก ตรงลานรอบนอกนั้น จะหมายถึงแผ่นดิน ส่วนที่ล้อมด้วยคูน้ำนั้นก็เปรียบเหมือนขอบจักรวาล
และบริเวณรอบในมีการยกขึ้นให้เป็นหกชั้น หมายถึง สวรรค์ทั้งหกของกายภูมินั่นเองค่ะ ส่วนที่ยกอีกสามชั้นขึ้นมา ก็หมายถึง รูปภูมิ อรูปภูมิ และชั้นบนสุดคือนิพาน มากันที่ตัวเสาสะดือเมืองกันบ้าง เขาจะเปรียบเหมือน เขาพระสุเมรุ โดยตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยม ที่หมายถึงตรีกูฏบรรพตหรือผาเส้า
โดยตามคติความเชื่อของโบราณล้านนานั้น บอกว่า เสาสะดือเมือง จะมีขนาดใหญ่เท่าห้ากำมือ สูงเท่าพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งโคนเสานี้ก็เลยมีขนาดใหญ่เท่าห้าพระหัตถ์กำ และสูงเท่ากับส่วนสูงของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยได้เสด็จมาเจิมเสาสะดือเมือง เมื่อวันที่ 27 มกราคม ปี พ.ศ. 2531 อีกทั้งชาวเชียงรายยังเชื่อกันอีกว่า น้ำที่สรงเสาสะดือเมืองแล้วเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์นั่นเองค่ะ
ส่วน เสาสะดือเมืองเชียงราย และเสาบริวารแกะสลักจากหินที่เราเห็นกันนั้น จะสร้างขึ้นาจาก นายสิงห์คำ สมเครือ ช่างฝีมือชาวพะเยาค่ะ โดยในปัจจุบันนั้น เสาสะดือเมืองเชียงรายนอกจากเป็นสถานที่รำลึกถึงการสร้างเมืองเชียงรายแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงรายเช่นกันค่ะ
ใครแวะไปเที่ยว เชียงราย ก็อย่าลืมหาโอกาสไปไหว้ขอพร เสาสะดือเมืองเชียงราย กันนะคะ เพราะนอกจากจะสร้างขึ้นอย่างมีนัยยะอันสำคัญแล้ว ก็ยังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งที่ชาวเชียงรายให้ความเคารพนับถือกันอย่างมาก ถ้าได้ไปไหว้ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลคงจะดีไม่น้อยเลยค่า
ที่อยู่ : 25 ถนนไตรรัตน์ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
เปิดให้เข้าชม : สามารถเข้าชมได้ตามเวลาเปิดปิดของสถานที่