จัดฟันบางนา: ปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง หลังรักษารากฟันอย่างที่หลายๆท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า คนที่จะต้องทำการรักษารากฟันนั้น จะต้องมีปัญหาที่ฟันชั้นกลางเป็นอย่างน้อย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่รุนแรงมากสำหรับฟันหากว่าต้องมีการรักษารากฟัน
เนื่องจากว่าการรักษารากฟันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโพรงประสาทฟันเกิดการติดเชื้อจากเชื้อโรคแบคทีเรียที่มีอยู่มากมายในช่องปาก ที่ได้แทรกผ่านได้ง่ายรอยแตกที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือตามจุดที่เกิดฟันผุ และหากว่าไม่รีบทำการรักษา ก็อาจจะเป็นต้นเหตุให้เนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันตายได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เพราะท่านอาจจะต้องสูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไปนั่นเอง
ในวันนี้ทางด้าน Clinic จะขอแนะนำท่านผู้อ่านถึงแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อได้ทำการรักษารากฟันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากว่าหลายๆท่านลืมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพื่อให้การรักษารากฟันเต็มประสิทธิภาพ และท่านจะได้ไม่ต้องกลับมาเป็นโรคร้ายแรงในช่องปากอีก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ผู้ที่ต้องรับการรักษารากฟัน ?
– ฟันผุที่มีความลึกมากถึงขั้นทะลุโพรงฟัน
– ฟันแตก หรือมีการหักทะลุโพรงฟัน
– ฟันแตกหักไม่ทะลุโพรงฟัน แต่เนื้อฟันที่เหลือไม่สามารถทำการรักษาได้
– มีหนองเกิดขึ้นบริเวณปลายราก
– ฟันที่ได้รับการกระแทกรุนแรงจากอุบัติเหตุต่างๆจนเกิดการอักเสบ หรือเนื้อเยื่อในโพรงฟันมีการตาย
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
ต้องของบอกก่อนว่าการรักษารากฟันนั้น โดยหลักๆแล้วจะแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ การรักษาด้วยวิธีปกติ และ การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดปลายรากฟัน โดยวิธีขั้นตอนนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รักษารากฟันเทียม
– ทันตแพทย์จะทำการกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออก
– ทำความสะอาดรากฟัน และเริ่มทำการรักษาด้วยการใส่ยาลงในคลองรากฟัน
– ปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคต่างๆเข้าไปได้
– หากว่าเริ่มมีหนองบริเวณปลายรากฟัน จำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดหลายครั้ง และต้องเปลี่ยนยาในคลองรากฟันจนกว่าอาการติดเชื้อเป็นหนองจะหายดีเป็นปกติ
– เมื่อไม่มีอาการอักเสบของรากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดคลองรากฟันแบบถาวรเพื่อรอการบูรณะตัวฟันต่อไป
– ซึ่งการบูรณะฟันหลังจากที่ทำการรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้วจะมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การอุดฟันปกติ การใส่เดือยฟัน การครอบฟัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่แล้วแต่ว่าสภาพเนื้อฟันเหลือมากน้อยและมีรูปทรงแบบใด
ซึ่งการรักษารากฟันเทียมนั้นสามารถทำให้ฟันซี่ที่รากฟันมีปัญหากลับมาใช้งานได้ตามปกติและมีความแข็งแรงไม่ต่างจากฟันปกติเพราะมีเบ้ากระดูกยึดแน่น ให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการใส่ฟันปลอมแน่นอน
การปฏิบัติตัวหลังจากทำการรักษารากฟัน
– ในช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกของการรักษารากฟัน จะมีอาการเจ็บปวดบ้างซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ และจะหายไปเองหลังจากนั้น
– ระมัดระวังเป็นอย่างมากในการบดเคี้ยวโดยใช้ฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันมาใหม่ๆ เนื่องจากปริมาณเนื้อฟันเหลือน้อยลง จึงทำให้ฟันมีความเปราะบางมากขึ้นตามไปด้วย แต่ก็ควรบดเคี้ยวอาหารด้วยฟันทั้ง 2 ข้าง เพราะการรับประทานอาหารเพียงข้างเดียวก็ไม่ใช่ผลดี
– ในช่วงที่ทำการรักษารากฟัน เกิดเหตุที่อุดฟันหลุดออกมาให้รีบไปพบทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน เนื่องจากหากว่าปล่อยไว้นานเชื้อโรคในช่องปากจะกลับเข้าไปที่คลองรากฟันได้อีกครั้ง และอาจจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้ออีกหากว่าไม่รีบทำการอุดฟันใหม่แต่โดยเร็ว
– การรักษารากฟันนั้นถือได้ว่าเป็นทันตกรรมแบบต่อเนื่อง หากว่าทันตแพทย์นัดวันรักษาคนไข้ควรรีบมาตามนัดสม่ำเสมอ เพราะไม่งั้นหากปล่อยไว้การรักษารากฟันอาจไม่มีประสิทธิภาพ ผลสุดท้ายอาจจะต้องถอนฟันซี่ที่กำลังรักษาออก เนื่องจากเกิดการติดเชื้อเกินจะรักษาได้นั่นเอง
ทั้งนี้การปล่อยฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานโดยที่ไม่ได้ทำการรักษา เชื้อโรคอาจจะเกิดการแพร่กระจายไปทำลายกระดูกรอบๆฟันที่กำลังติดเชื้อได้ ผลสุดท้ายหากมารับการรักษาช้าเกินไปท่านอาจจะต้องสูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไปตลอดกาลนั่นเอง