โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุ อาการ วิธีเลี่ยงความดันโลหิตสูง (HYPERTENSION)
สภาวะผิดปกติที่บุคคลมีระดับ ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าระดับปกติของคนส่วนใหญ่ และถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องควบคุม เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้เกิดความเสียหาย และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง นำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด หรือหลอดเลือดแตกได้ นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาต โรคสมองเสื่อมหรือโรคไตวายเรื้อรัง
เมื่อไหร่? เรียกว่าความดันโลหิตสูง
การวัดความดันโลหิตสูง ค่าความดันที่วัดได้จะออกมา 2 ค่า คือ ค่าความดันตัวบนและค่าความดันตัวล่าง
ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 140 (mm/Hg) ขึ้นไป
ค่าความดันตัวล่าง คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) ขึ้นไป
ซึ่งตัวเลขทั้งสองค่าจะรายงานเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) โดยระดับความดันทั้ง 2 ค่า ยิ่งสูงมากก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ
ค่าความดันโลหิตที่ควรระวัง
สูงเล็กน้อย สูงปานกลาง สูงมาก
140 - 159 (mm/Hg) 160 - 179 (mm/Hg) มากกว่า 180 (mm/Hg)
90 - 99 (mm/Hg) 100 - 109 (mm/Hg) มากกว่า 110 (mm/Hg)
ใครว่า “ความดันโลหิตสูง Hypertension ไม่อันตราย”
คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
ปวดศีรษะ
มึนงงศีรษะ
คลื่นไส้, อาเจียน
เหนื่อยง่าย
หน้ามืดเป็นลม
เหล่านี้คือกลุ่มอาการที่พบบ่อยๆ ของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
มากกว่า 90 % เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) มักพบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมากส่วนใหญ่กลุ่มที่ทราบสาเหตุพบได้น้อย ซึ่งเกิดได้ในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว เช่น โรคไต หลอดเลือดที่ไตตีบบครรภ์เป็นพิษ เนื้องอกบางชนิด โรคทางต่อมหมวกไตยาบางอย่าง เป็นต้น
การพยากรณ์โรคของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ขึ้นอยู่กับ
1. ระดับความดันโลหิตสูงมาก ยิ่งความดันโลหิตสูงมากและระยะเวลาที่เป็นนาน ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ หลายระบบตามมา
2. การมีโรคอื่นร่วมและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอัมพาตการที่มีปัจจัยเสี่ยงมาก มีโรคร่วมหลายโรค ยิ่งทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี
Tip..เพื่อก้าวไปสู่สภาวะความดันปกติ
มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับส่วนสูง ดัชนีมวลกาย BMI = 18.5-25 กิโลกรัม/เมตร²
มีรอบเอวที่เหมาะสมกับส่วนสูง (รอบเอว = ความสูง²)
จัดการเวลาและมีทักษะ เผชิญต่อความเครียด
เรียนรู้และปฏิบัติตัวตามข้อปฏิบัติและ คำแนะนำของแพทย์และทีมดูแลสุขภาพ
บริโภคอาหารตามข้อปฏิบัติการ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่สุขภาพ
ลด ละ เลิก เครื่องดื่ม ที่มีแอลกอออล์ ไม่สูบบุหรี่
ดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ เน้นการพักผ่อนให้เพียงพอ
ลดปริมาณเกลือแกงหรือโซเดียม ในอาหาร โดยจำกัดการใช้เกลือ ในการปรุงอาหารหรือเครื่องปรุงรส บนโต๊ะอาหารหลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูงหรือรสเค็มจัด เช่น อาหารกระป๋อง อาหารกินเล่น อาหาร แช่แข็งและปรุงสำเร็จ อาหารใส่ผงชูรส เป็นต้น เมื่อจับจ่ายซื้ออาหารสำเร็จรูป อ่านฉลาก กำกับทุกครั้งและเลือกซื้ออาหารที่ระบุชัดเจน ว่ามี “โซเดียมต่ำ” หรือ “ไม่ใช้เกลือ” เท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ใช้เครื่องเทศแทนการ ใช้เกลือ เช่น น้ำส้ม มะนาว กระเทียม ขิง หัวหอม เป็นต้น เลือกรับประทานอาหารสด ผัก ผลไม้ ผัก ข้าว และขนมปังเป็นต้น