ทำไมผู้ป่วยที่ได้รับอาหารสายยางเกิดอาการท้องเสียการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้นั้น ถือเป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยที่หมดสติหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และยังช่วยรักษาสมดุลระบบต่างๆภายในร่างกายอีกด้วย เช่น ระบบการย่อยอาหาร ระบบการขับถ่ายให้เป็นปกติ ซึ่งการรับประทานอาหารถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญของการดำรงชีวิต แม้แต่คนเราที่เป็นคนทั่วไป ยังมีความต้องการอาหาร ดังนั้น ผู้ป่วยก็มีความต้องการอาหารเช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร แต่การให้อาหารทางสายยางนั้น ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับอาหารทางสายยางเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น การให้อาหารทางสายยาง จึงถือเป็นกระบวนการรักษาที่ต้องควบคุมดูแลโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ รวมไปถึงผู้ดูแลก็ต้องมีความเชี่ยวชาญด้วยเช่นเดียวกัน ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการได้รับอาหารทางสายยางที่มักพบได้บ่อยอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการท้องเสีย แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาหารปั่นผสมที่จะนำมาให้ผู้ป่วยนั้น จะมีระยะเวลาในการเก็บรักษาที่ไม่นาน ส่วนใหญ่แล้วเมื่อปรุงเสร็จแล้ว ควรที่จะให้อาหารแก่ผู้ป่วยจนหมด หลีกเลี่ยงการนำมาใช้ซ้ำในวันต่อไป เพราะอาหารที่ให้ทางสายยางจะเป็นอาหารที่ปั่นแล้ว หากทิ้งอาหารไว้ค้างคืนจนบูด ก็จะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ โดยทั่วไปแล้ว อาหารที่ให้ทางสายยางจะเป็นอาหารปั่นผสม ที่ควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง อาหารที่เตรียมเสร็จแล้วแต่ยังไม่ถึงมื้ออาหารที่จะให้ครั้งต่อไป ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นและนำมาอุ่นก่อนที่จะให้อาหารในมื้อนั้นๆ ซึ่งก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการท้องเสียแก่ผู้ป่วยได้ ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงอาการท้องเสีย สำหรับผู้ที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ว่าสามารถเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้ป้องกันและหลีกเลี่ยง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีความสะอาดและปลอดภัยมากที่สุด
ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายที่เกิดอาการท้องเสีย มีสาเหตุการเกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยนม ถ้าสูตรอาหารปั่นผสมมีนมเป็นส่วนผสมจะทำให้ผู้ป่วยท้องเสียได้ นอกจากนี้ สูตรอาหารปั่นผสมที่มีความเข้มข้นมาก ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการดึงน้ำออกมาอยู่ในลำไส้มาก จนส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องเสียได้ อย่างไรก็ตาม อาหารปั่นผสมที่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหรือเกิดจากการเก็บรักษาอาหารปั่นผสมไม่ถูกวิธี ก็ทำให้อาหารปั่นผสมบูดได้ จึงเป็นสาเหตูให้เกิดท้องเสียได้นั่นเอง และอีกข้อหนึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ อาหารที่ให้ผู้ป่วยทางสายยาง อาจจะมีสารบางอย่าง ที่ผู้ป่วยแพ้ เช่นบางคนดื่มนมวัวแล้วท้องเสีย เพราะไม่มีเอ็นไซม์ย่อยนมวัว และน้ำดื่มที่นำมาให้ผู้ป่วยก็สำคัญเช่นเดียวกัน ควรตรวจดูให้แน่ใจว่า มีความสะอาดหรือไม่ เพราะน้ำดื่มที่นำไปให้ผู้ป่วยก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียได้ เห็นมั้ยว่า การให้อาหารทางสายยาง มีขั้นตอนกระบวนการที่สำคัญหลายข้อที่ผู้ดูแลจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย เพราะปัจจัยหลายอย่างที่อาจจะส่งผลต่อร่างกายผู้ป่วยได้ แม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม นอกจากอาการท้องเสียที่อาจจะพบได้ในผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยางแล้ว ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการท้องผูกได้เช่นเดียวกัน สำหรับปัญหาท้องผูกในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสาย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขาดใยอาหารหรือผู้ป่วยได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งในเรื่องของการประกอบอาหารหรือการให้น้ำแก่ผู้ป่วยก็ถือเป็นเรื่องสำคัญมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น การประกอบอาหารหรือการดูแล ควรทำโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาหารท้องเสียหรือท้องผูกได้ ทางเรามีนักโภชนาการคอยควบคุมทุกกระบวนการผลิตอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีความสะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารมีสุขภาพที่แข็งแรง หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และเรายังคำนึงถึงสารอาหารที่ผู้ป่วยควรจะได้รับด้วย โดยมีการคำนวณสารอาหารได้แต่ละบุคคล เพื่อที่จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีร่างกายที่แข็งแรง ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมมากที่สุด